วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม





                                                                                     

ความเป็นมาของหน่วยงาน



รายงานจากศูนย์พันธุวิศวกรรมของประเทศไทยกล่าวไว้ว่า เห็ด-รา ในประเทศไทยมีมากกว่า 10,000 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นเห็ด (Mushroom) ไม่น้อยกว่า 5,000 ชนิด แต่ในขณะนี้มีรายงานเพียง 1,000 ชนิด มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ทำการศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับเห็ดในภาคอีสานมาตั้งแต่ปี 2545 และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีการเก็บรักษาสายพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดไว้มากที่สุด จากข้อมูลทางวิชาการได้แสดงให้เห็นว่า เห็ดเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนา ทั้งด้านที่เป็นอาหารและยา ในวงรอบ 10 ปีที่ผ่านมาอัตราการบริโภคเห็ดเป็นยาและอาหารเพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 การศึกษาเรื่องการเพาะเลี้ยง โดยเฉพาะสายพันธุ์ท้องถิ่นมีน้อยมาก ในแต่ละปีมีการศึกษาน้อยกว่า 10 โครงการต่อปี ทั้ง ๆ ที่ประเทศมีความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดสูงมาก

พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาแห่งนี้เกิดขึ้นจากการสะสมผลงานวิจัยของคณาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยตระหนักดีว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นมหาวิทยาที่พัฒนาขึ้นมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา การที่จะส่งตัวเองให้เท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยเก่า หรือมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติได้นั้น ต้องมีการสร้างเอกลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ จากประสบการณ์ของคณาจารย์ในคณะที่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพมากว่า 30 ปี ทำให้สามารถค้นพบว่า การศึกษาเกี่ยวกับเห็ดรา เป็นทางเลือกที่ ดีอันหนึ่ง สำหรับมหาวิทยาลัยแห่งนี้  ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศน้อยมาก อีกทั้งสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อวิถีชีวิตของชุมชนและในประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดราสูงมาก


จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ จรากการดำเนินงานมากว่า 30 ปี ทำให้ได้ตัวอย่างเห็ด ไม่น้อยกว่า 2,000 ชนิด และยังมีอีกไม่น้อยกว่า 2,000 ชนิด ที่ยังไม่สามารถจัดจำแนกได้ ทางคณะวิทยาศาสตร์จึงได้จัดทำพิพิธภัณฑ์เห็ดมีฤทธิ์ทางยาขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก คุณแฟรงกี้ ชาน ได้จัดระดมทุนทั้งจากต่างประเทศ ในประเทศ และเงินส่วนตัว เพื่อจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้  โดยหวังว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะได้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของคนรุ่นต่อๆ ไป การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาแห่งนี้สำเร็จลงได้ด้วยการสนับสนุนของคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ (รองศาสตราจารย์     จีระพรรณ  สุขศรีงาม และรองคณบดี (ดร.เนรมิตร  มรกต) นอกจากนี้ยังมีบุคลากรต่างๆ รวมทั้งนิสิต ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจในการจัดทำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ต่อมา จึงได้ตั้งคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาขึ้น เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551 โดยมีอาจารย์ ดร.อุษา  กลิ่นหอม เป็นประธานโครงการ ดังคำสั่งที่ 827/2551 และได้รับความร่วมมือเป็นเบื้องต้นจากอาจารย์ภาควิชาชีววิทยาและภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ร่วมดำเนินงานและได้ร่วมงานอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามพันธกิจด้านต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2551 เป็นต้นมา
พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการของพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2550 หลังจากนั้นพิพิธภัณฑ์ก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยได้ต้อนรับผู้ที่เข้ามาขอเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ  จนถึงปัจจุบันมีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมมากกว่า 20,000 คน





ตัวอย่างเห็ดที่กินได้



ชื่อพื้นเมือง
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อวงศ์
เห็ดกระด้าง
เห็ดบด
Lentinus polychrous Leveille
ชื่อวงศ์



สำหรับสัปดาห์นี้ขอนำเสนอเห็ดกินได้ คือเห็ดบด หรือเห็ดกระด้างนะค่ะ เห็ดบด หรือ เห็ดกระด้าง เป็นเห็ดสารพัดประโยชน์ กินก็ได้ ทำยาก็ดี ฉะนั้นชาวอีสานจึงทำเป็นเห็ดแห้งเก็บไว้ได้นานเป็นแรมเดือนค่ะ เห็ดกระด้างกินได้อร่อยทั้งในรูปของแกงและซุปเห็ด โดยนำเห็ดกระด้างฉีกเป็นชิ้นโคลกพริกขี้หนูสดให้ละเอียด ต้มน้ำให้เดือด ใส่พริก ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำปลาร้า เกลือแล้วใส่เห็ด พอเห็ดสุกใส่ผักติ้ว ใบแมงลัก แล้วยกลง แค่นี้ก็อร่อยอย่างแรงค่ะ…
หมวกเห็ดบดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 10 เซนติเมตร รูปร่างโค้งนูนคล้ายกรวยลึกขอบโค้งงอเล็กน้อย สีขาวนวลถึงน้ำตาลอ่อนอมเทา เหนียวคล้ายหนัง ผิวหมวกเห็ดมีขนละเอียดสีน้ำตาล ซึ่งรวมกันคล้ายเกล็ดเล็กๆ ปลายงอนขึ้นเล็กน้อย เกล็กจะเรียงกระจายออกไปยังขอบหมวกเห็ด เมื่อลูบดูจะรู้สึกเหมือนขนกำมะหยี่
เห็ดที่ยังอ่อนมีขอบหมวกบางและม้วนงอลง เนื้อเห็ดสีขาวหม่นหรือขาวนวลอมเทา ใต้หมวกเห็ดมีครีบเรียงกันเป็นรัศมีรอบก้านดอกและยาวขนานกันกับก้านดอกลงไปเกือบถึงโคนก้านดอก มีสีน้ำตาลเข้มกว่าผิวหมวกเห็ด เมื่อเห็ดแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงถึงน้ำตาลแดงเกือกดำ ครีบที่ขอบหมวกเห็ดจะบางกว่าตรงกลาง เพราะครีบหมวกเห็ดจะค่อยๆ เรียวเล็ก เชื่อมติดกับขอบหมวกเห็ด ครีบหมวกเห็ดแคบบางและไม่ลึกเหมือนเห็ดอื่นๆ ทั่วไป
ก้านดอกเห็ดบดยาวเพียง 0.5 - 2 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 - 1 เซนติเมตรแข็งและเหนียว โคนก้านดอกใหญ่กว่าด้านบนเล็กน้อย ผิวเรียบสีขาวนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและน้ำตาลดำในที่สุด อยู่กึ่งกลางหมวกเห็ดหรือเยื้องไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนสปอร์เป็นรูปรีสีขาว ขนาด 3 - 5 x 6 - 9 ไมครอน ผิวเรียบ ผนังบาง
เห็ดบดมักขึ้นเป็นดอกเดี่ยวหรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ โคนก้านดอกติดกัน 3 - 5 ดอก ตามขอนไม้หรือตอไม้เนื้อแข็ง เช่น ต้นเต็ง ต้นรัง หรือต้นแต้ ฯลฯ ในป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรังในช่วงไม่ชุ่มชื้นมาก คือระยะปลายฝนจนถึงต้นหนาว
เห็ดบดกินได้อร่อยทั้งในรูปของแกงและซุบเห็ดโดยนำเห็ดบดฉีกเป็นชิ้นโคลกพริกขี้หนูสดให้ละเอียด ต้มน้ำให้เดือด ใส่พริก ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำปลาร้า เกลือแล้วใส่เห็ด พอเห็ดสุกใส่ผักติ้ว ใบแมงลัก แล้วยกลง
ในตำรายาพื้นบ้านอีสานบอกว่าเห็ดบดใช้แก้พิษงูและแมลงป่องได้ด้วยนอกจากนี้ งานวิจัยของอเมริกาและจีนระบุว่าเห็ดนี้ยังใช้แก้โรคลม โดยนำไปต้มกับฝอยลม








โดยเฉพาะเมื่อใช้กับหญิงที่คลอดลูกใหม่ๆ พบว่าได้ผลดีเป็นพิเศษ




ชื่อวิทยาศาสตร์ Lentinus polychrous Leveille


ชื่ออื่นๆ เห็ดกระด้าง เห็ดลม


สรรพคุณทางยา แก้โรคลม แก้พิษงู และแมลงป่อง







ใช้เป็นยาใช้เป็นอาหาร



ตัวอย่างเห็ดสมุนไพร
เห็ดจวักงูขาแข็ง
ถึงแม้หน้าตาจะแตกต่างกันไกล แต่ฤทธิ์ในทางสมุนไพรและแหล่งเติบโตของเห็ดจวักงูขาแข็งนั้นใกล้เคียงกับเห็ดขอนแข็งราวกับคู่แฝด
เห็ดทั้งสองชนิดนี้ใช้ฝนกับเหล้าขาวทาขาเด็กที่ขาไม่เข็งแรงให้ขาแข็งแรงขึ้นและมักพบขึ้นตามรากหรือตอที่ตายแล้วของไม้แดงเหมือนกัน แต่ เห็ดจวักงูขาแข็งพบในบริเวณที่หลากหลายกว่า ไม่จำกัดอยู่แค่แถวๆ ตอหรือรากไม้แดง Xylia xylocarpa แต่ยังรวมถึงไม้ยืนต้นอื่นๆ เช่น ไม้เต็ง Shorea obtuse Wall.และ ไม้รัง Shorea siamensis Miq. ในป่าเบญจพรรณหรือป่าดิบชื้น
หมวกเห็ดจวักงูขาแข็งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-10 เซนติเมตร ลักษณะรูปร่างเป็นแผ่นครึ่งวงกลม ดูคล้ายไตหรือใบโพธิ์ ปลายมน ผิวหมวกเห็ดเรียบมันเป็นเงามีขนละเอียดคล้ายกำมะหยี่และสะเก็ดเล็กๆ มีสีน้ำตาลเทาหรือน้ำตาลแดงเข้มเป็นแถบสีสลับกัน ผิวหยักเป็นร่องเล็กๆ คล้ายคลื่น เป็นแถบครึ่งวงกลมและเป็นรอยย่นกระจายในแนวรัสมี เมื่อถึงวัยแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาลดำ เนื้อเห็ดแข็งคล้ายไม้ สีน้ำตาลแดงเข้ม ใต้หมวกเห็ดเป็นรูสีขาว 6 - 8 รูต่อมิลลิเมตร เมื่อขุดหรือสำผัสจะมีสีน้ำตาลแดง
ก้านของเห็ดชนิดนี้ยาว 3 - 15 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3 - 0.8 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก มีขนคล้ายหมวกเห็ดสีน้ำตาลแดงเป็นมัน แข็งคล้ายกิ่งไม้ ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งอยู่ตรงก้านดอกเห็ดที่อยู่ติดกับขอบหมวกเห็ดด้านใดด้านหนึ่งดูคล้ายจวักงู เนื้อสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนสปอร์รูปร่างเกือบกลม สีน้ำตาล ขนาด 7 - 8 x 8 - 10 ไมครอน ผนังหนาสองชั้น มีหนามเล็กๆ ตรงกลาง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Amauroderma rugorum (Brune et Nees ex Fr.) Torrey


ชื่ออื่นๆ -


สรรพคุณทางยา ทาขาเด็กที่ไม่แข็งแรงให้แข็งแรงขึ้น


ใช้เป็นยาใช้เป็นอาหาร





ในแต่ละปีคนอีสานบริโภคเห็ดอย่างมหาศาลนอกจากนั้นแล้ว ยังมีการใช้เห็ดบางชนิดเป็นยารักษาโรคบางอย่างได้แต่กลับมีการศึกษาทางวิชาการน้อยมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่ตั้งอยู่ท่ามกลางความหลากหลายทางทรัพยากรเหล่านี้ จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำเพื่อการอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาและต่อยอดองค์ความรู้ของการใช้ประโยชน์จากเห็ด

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้จัดตั้งโครงการพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจาก Thai – Korea Natural Phellinus Mushroom Research Center เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2550 แล้ว เสร็จภายในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน และได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาแห่งแรกในประเทศไทยและเอเชีย

พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา จึงจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับต่อยอดและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา อันจะทำให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของเห็ด ความเข้าใจเกี่ยวกับเห็ด โดยกระบวนการเก็บตัวอย่าง การจำแนกอย่างเป็นระบบการจัดแสดงตัวอย่าง การเรียนการสอน การบริการวิชาการและการวิจัย

ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์มีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ทั้งเห็ดในภาคอีสานและเห็ดที่มีการวิจัยหรือได้รับความสนใจในต่างประเทศ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาตัวยาใหม่ๆ เพื่อช่วยชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะโรคที่ยาแผนปัจจุบันยังรักษาไม่ได้

ด้านการดำเนินงาน พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลในรูปเเบบฐานข้อมูล โดยกำหนดหมายเลขเป็นInternational Index Herbarium Code คือ MSUT ปัจจุบันมีมากกว่า 4000 ตัวอย่าง นอกจากนี้ยังมีบริการรับฝากตัวอย่างเห็ดโดยให้หมายเลข MSUT
พร้อมกับมีหมายเลขผู้เก็บตัวอย่าง (Collector Number) ทั้งนี้สามารถรับแบบฟอร์มการรับฝากตัวอย่างได้ทีพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา

พิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ส่วนจัดแสดงแรก จัดแสดงตัวอย่างเห็ดแต่ละชนิด แบ่งเป็นหมวดหมู่ตามการจำแนก ส่วนที่สองจัดแสดงระบบนิเวศของเห็ดในป่าภาคอีสาน และส่วนที่สาม แสดงฤทธิ์ทางยาและผลิตภัณฑ์จากเห็ด

ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือของพิพิธภัณฑ์เห็ดมีฤทธิ์ทางยา ได้แก่ ความหลากหลายของเห็ดผึ้งในภาคอีสาน, 57 เห็ดเป็นยาแห่งป่าอีสาน และ เห็ดป่าเมืองไทย ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์




   เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 รายการบางอ้อ ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Modern 9 TV ได้มาถ่ายทำรายการ ณ พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในชื่อตอน "สิ่งมาชีวิต มีฤทธิ์มหัศจรรย์" ซึ่งจะออกอากาศวันเสาร์ที่ 10 กันยายน 2554 เวลา 13.30 น. คุณคงกะพัน แสงสุริยะ เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ละออศรี เสนาะเมือง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ดร.ขวัญเรือน พาป้อง และอาจารย์วินัย กลิ่นหอม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา เป็นวิทยากรในการนำเสนอและบรรยาย


   คณะวิทยาศาสตร์ ขอเชิญชมรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับเห็ดทางการแพทย์ (Medicinal Mushrooms) และ พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา กำหนดการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Modern 9 TV  ได้แก่ รายการ VIP วันที่ 5 กันยายน 2554 เวลา 22.30 น., รายการเช้าดูวู๊ดดี้ วันที่ 6 กันยายน 2554 เวลา 08.00 น., รายการสโมสรสุขภาพ วันที่ 7 กันยายน 2554 เวลา 08.30 น., รายการบอกเล่าเก้าสิบ วันที่ 8 กันยายน 2554 เวลา 17.10 น., รายการบางอ้อ วันที่ 10 กันยายน 2554 เวลา 13.30 น.






วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การแบ่งปันข้อความ ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ จากโทรศัพท์ของคุณไปยังblog

วิธีส่งรูปภาพหรือคลิปวิดีโอไปยังเว็บไซต์ใหม่
  1. ขณะกำลังดูรูปภาพหรือคลิปวิดีโอนั้นอยู่ ให้เลือก ตัวเลือก > ส่ง > ไปที่เว็บไซต์
  2. ไฮไลท์ เว็บไซต์ใหม่ และเลือก เพิ่ม
  3. วิธีปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดบัญชีที่อยู่อีเมล์ เลือก ตกลง
  4. ป้อนที่อยู่อีเมล์ และเลือก ตกลง
  5. ไฮไลท์ ที่อยู่เว็บ ป้อนที่อยู่เว็บ และเลือก ตกลง
  6. ไฮไลท์ ชื่อ ป้อนชื่อและเลือก ตกลง
  7. เลือก บันทึก และเลือก Blog
  8. ป้อนข้อความ และเลือก ทำต่อ > ส่ง
วิธีส่งรูปภาพหรือคลิปวิดีโอไปยังบล็อก
  1. ขณะกำลังดูภาพหรือคลิปวิดีโอนั้นอยู่ ให้เลือก ตัวเลือก > ส่ง > ไปที่เว็บไซต์
  2. เลือก Blogger และป้อนชื่อและข้อความ
  3. เลือก ตกลง > ประกาศ


วิธีเผยแพร่ภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอบนเว็บไซต์:
  1. จาก Home screen ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งดังต่อไปนี้:
    • กดปุ่ม กล้อง เพื่อเปิดใช้กล้องถ่ายรูป แท็ปไอคอน ดูรูปแลวิดีโอ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่มุมล่างซ้ายของช่องมองภาพ หรือถ่ายภาพ หรือบันทึกวิดีโอ
    • ค้นหาและแท็ป Album > ภาพย่อรูปหรือวิดีโอ
  2. หากต้องการ แท็ปหน้าจอ เพื่อแสดงการควบคุม
  3. แท็ปไอคอน ส่ง ที่มีตำแหน่งอยู่มุมบนซ้ายของหน้าจอ
  4. เลือกวิธีแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ได้และปฏิบัติตามคำแนะนำ
ถ้าคุณอยากเปลี่ยนแปลงสิ่งใดก็ตามในบล็อกมือถือใหม่ของคุณ หรือถ้าคุณมีบัญชีบล็อกเกอร์อยู่แล้ว และต้องการให้โพสต์เข้าสู่บล็อกที่มีอยู่ คุณสามารถลงชื่อเข้าใช้ go.blogger.com และป้อนโทเค็นที่เราส่งให้คุณทางโทรศัพท์ จากนั้นคุณจะสามารถอ้างสิทธิ์ในบล็อกมือถือใหม่ของคุณและรวมเข้ากับบล็อกที่มีอยู่แล้วได้ หมายเหตุสำหรับผู้ใช้ซึ่งที่อยู่บล็อกไม่มี blogspot.com: เมื่อคุณดำเนินการเปลี่ยนดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว โพสต์มือถือใหม่จะได้รับการเผยแพร่ในบล็อกที่คุณเลือก แต่โพสต์มือถือที่เผยแพร่ก่อนการเปลี่ยนจะไม่ถูกย้ายโดยอัตโนมัติ


วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวเมืองบุรีรัมย์

 ปราสาทหินพนมรุ้ง  เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีอายุการก่อสร้างและใช้เป็นเทวสถาน ต่อเนื่องกันมา หลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงพุทธ ศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมหันมานับถือศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้ จึงคงจะได้รับการดัดแปลงเป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายานในช่วงนั้น
ตัวโบราณสถาน ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ ที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร จากพื้นราบ คำว่า "พนมรุ้ง" หรือ "วนํรุง" เป็นภาษาเขมรแปลว่า "ภูเขาใหญ่" ปราสาทพนมรุ้งหันไปทางทิศตะวันออก ประกอบ ด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ตั้งเรียง รายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธาน บนยอดอัน เปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพังสามชั้น ผ่านขึ้นมาสู่ พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานาง เรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้าง เป็นระยะๆ ถนนทางเดิน นี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุด เชื่อมต่อระหว่างดินแดน แห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้าน ข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้าง ด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพาน นาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็น ชานพักเป็นระยะๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลา โล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้า ประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้า สู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมี สะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน

ปรางค์ประธาน หรือส่วนที่สำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรง ศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่างๆ ตลอดจนกลีบขนุนปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤาษี เทพประจำทิศ ศิวะ นาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและ รายละเอียดอื่นๆ ช่วยให้ กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและ สะพานนาคราช สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17
ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก 1 องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทาง ศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบันทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้น ก่อนปรางค์ประธาน มีอายุ ในราวพุทธศตวรรษที่ 16
นอกจากนี้ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธานและที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกันกับพลับพลา ที่สร้างด้วยศิลาแลง ข้างทางเดินที่เรียกว่า "โรงช้างเผือก"
กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมแซมและบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง โดยวิธีอนัสติโลซิส คือ รื้อของเดิมลง มาโดย ทำรหัสไว้จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมากลับไปก่อใหม่ ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่ช่วย และเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปีพุทธศักราชที่ 2531 ได้มีพิธีเปิดอุทยาน ประวัติศาสตร์พนมรุ้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธาน และปลายปีเดียวกัน ก็ได้รับทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์กลับคืนมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้มีความงดงามและ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะมีงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพนมรุ้ง จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท